สถานการณ์น้ำในเขต จังหวัด เชียงใหม่…..รายงาน ณ วันที่ 1 กันยายน 2564
สภาพอากาศ : วันที่ 1 – 6 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง จ.เชียงใหม่ ฝน 60% ของพื้นที่
สภาพฝน : ฝนเมื่อวานนี้ สถานีอุตุฯ จ.เชียงใหม่ 0 มม. ฝนสะสม 1 ม.ค. 64 ถึงวันนี้ 656 มม. (เกณฑ์เฉลี่ย 735 มม.) (น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 11%) ฝนสูงสุด 3 อันดับ อ.จอมทอง 29 มม. อ.ฮอด 23 มม. และ อ.แม่แจ่ม 21 มม.
สภาพน้ำท่า : แม่น้ำปิง (P.103) ที่สะพานวงแหวนรอบ3 13 ลบ.ม./วิ น้อยกว่าปีที่แล้ว 19 ลบ.ม./วิ (ปี 2563 32 ลบ.ม.) ปริมาณน้ำสะสม (1 ม.ค. 64 ถึงวันนี้) 254 ล้าน ลบ.ม. น้อยว่าปีที่แล้ว 11% ( ปี 2563 285 ล้าน ลบ.ม.)
น้ำแม่แจ่ม (P.14A) 3 ลบ.ม./วิ น้อยกว่าปีที่แล้ว 7 ลบ.ม./วิ (ปี 2563 10 ลบ.ม./วิ)
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่…..
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล : ปริมาณน้ำ 92 ล้าน ลบ.ม. (35%) น้อยกว่าปี 2563 29 ล้าน ลบ.ม. (11%) เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.153 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลเข้าอ่าง 7 วันที่ผ่านมา 1.498 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสม (1 ม.ค. 64 ถึงวันนี้) 32 ล้าน ลบ.ม.
แผนการจัดสรรน้ำฤดูฝน ปี 2564 :
ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่โครงการฯ (เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 – 15 พ.ย. 64 ) โดยมีแผนใช้น้ำ 60 ล้าน ลบ.ม. (พื้นที่แม่งัด 40 ล้าน ลบ.ม. / พื้นที่แม่แฝก 20 ล้าน ลบ.ม.) ผลจากการบริหารจัดการน้ำ ใช้น้ำ 18.540 ล้าน ลบ.ม. (สะสมตั้งแต่ วันที่ 16 มิ.ย. 64 – ปัจจุบัน )
ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง ( เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 64 – 31 ก.ค. 64 ) โดยมีแผนใช้น้ำ 10 ล้าน ลบ.ม. ผลจากการบริหารจัดการน้ำ ใช้น้ำ 0.867 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนแม่กวงอุดมธารา : ปริมาณน้ำ 45 ล้าน ลบ.ม. (17%) น้อยกว่าปี 2563 61 ล้าน ลบ.ม. (23%) เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 2.293 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลเข้าอ่าง 7 วันที่ผ่านมา 2.779 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสม (1 ม.ค. 64 ถึงวันนี้) 55 ล้าน ลบ.ม.
แผนการจัดสรรน้ำฤดูฝน ปี 2564 :
ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่โครงการฯ ( เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 – 5 พ.ย. 64 ) แผนการใช้น้ำ 71 ล้าน ลบ.ม. โดยผลการบริหารจัดการน้ำ ใช้น้ำ 33.368 ล้าน ลบ.ม. (สะสมตั้งแต่ วันที่ 5 ก.ค. 64 – ปัจจุบัน )
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง (13 อ่าง) : ปริมาณน้ำรวม 26 ล้าน ลบ.ม. (26%) น้อยกว่าปี 2563 รวม 6 ล้าน ลบ.ม (6%) แผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 : 19 ล้าน ลบ.ม. (อุปโภค-บริโภค 3 ล้าน ลบ.ม./ เกษตร 12 ล้าน ลบ.ม./ นิเวศน์ 4 ล้าน ลบ.ม.)
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก (117 อ่าง) : ปริมาณน้ำรวม 29 ล้าน ลบ.ม. (43%) มากกว่าปี 2563 รวม 1 ล้าน ลบ.ม. (2%)
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง : ปริมาณน้ำฝนเมื่อวานนี้ 0.00 มม. ปริมาณน้ำไหลเข้าคลองสายใหญ่ (ฝั่งขวา) 10.003 ลบ.ม. แก้มลิงแม่แตง แห่งที่ 1 ปริมาณน้ำอยู่ที่ 781.463 ลบ.ม. คิดเป็น 67.60% ของความจุ ส่วนแก้มลิงแม่แตง แห่งที่ 2 มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 695.174 ลบ.ม. คิดเป็น 38.47% ของความจุ
แผน-ผล การเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2564 (18-24 ส.ค. 64) ในพื้นที่โครงการชลประทานขนาดใหญ่และกลาง
แผนการเพาะปลูก 342,144 ไร่ แยกเป็น ข้าว 223,806 ไร่ พืชไร่ 14,833 ไร่ ไม้ผล 99,225 ไร่ บ่อปลา 4,132 ไร่ อื่นๆ 148 ไร่
เพาะปลูกจริง (ผล) 320,185 ไร่ แยกเป็น ข้าว 202,871 ไร่ พืชไร่ 13,834 ไร่ ไม้ผล 99,216 ไร่ บ่อปลา 4,131 ไร่ อื่นๆ 113 ไร่ (คิดเป็น 94% ของแผน)