วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

รับสมัครผู้ตรวจการเลือกตั้งคึก 6วันคนดังเชียงใหม่พาเหรดชิงเก้าอี้กว่า36ราย “เกรียงไกร”แจงชัดบทบาทแตกต่าง กกต.จังหวัด (คลิป)

วันที่ 18 มิ.ย. 61 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ นายเกรียงไกร พานดอกไม้ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการรับสมัครผู้ตรวจการเลือกตั้งว่า การรับสมัครผู้ตรวจการเลือกตั้งนับถึงวันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 10.30 น. โดยประมาณ มีผู้สนใจมาสมัครแล้ว 36 ท่าน จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้สมัครอยู่ราว 40-50 ท่าน ทั้งนี้ยังมีเวลาอีกโดยจะเปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 22 มิ.ย.61 นี้ อีกประการโดยหน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้งนั้นท้าทายความสามารถของผู้ที่จะเข้ามาช่วยประเทศชาติในช่องทางนี้

“ผู้ตรวจการเลือกตั้งนอกจากจะทำหน้าที่ในการเลือกตั้ง สส. แล้ว ยังต้องทำหน้าที่ในช่วงการเลือก สว. ด้วย ซึ่งการเลือก สว. นั้นคาดว่าจะเกิดก่อนการเลือก สส. แน่นอน นอกจากนั้นแล้วยังจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นซึ่งผู้ตรวจการเลือกตั้งอาจได้รับคำสั่งจาก กกต. ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยก็ได้ เพราะว่าผู้ตรวจการเลือกตั้งจะขึ้นบัญชีไว้ 5 ปี ในระหว่าง 5 ปีนี้ ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กกต. มอบหมายได้ อาจจะเป็นท้องถิ่นที่มีการแข่งขันสูง ก็จะมีการแต่งตั้งไปปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นได้” นายเกรียงไกรฯ กล่าว

ในประเด็นผู้ตรวจการเลือกตั้งที่มีความแตกต่างจะ กกต.จังหวัดอย่างไร ผอ.กกต.เชียงใหม่ กล่าวว่า กกต.จังหวัดแต่เดิมนั้นถือว่าเป็นบอร์ดประจำจังหวัด ในแต่ละจังหวัดมี 5 ท่าน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง กกต.จังหวัดนั้นจะมีหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นเบื้องต้นในการให้ใบเหลืองใบแดง แต่ผู้ตรวจการเลือกตั้งจะมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการคือ หน้าที่ในการตรวจ แนะนำการเลือกตั้ง อีกอย่างคือมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามคำสั่งที่ กกต. จะมอบหมายภารกิจให้เป็นคราวไป จะไม่มีภารกิจในเรื่องการพิจารณาสำนวนการสอบสวน

“บทบาทหน้าที่ ภารกิจจะแยกแตกต่างกันเลย กกต.จังหวัด มีหน้าที่ตรวจแนะนำด้วย แต่หน้าที่ของ กกต.จังหวัดบางอย่างจะกลายมาเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้ง ซึ่งผู้ตรวจการเลือกตั้งจะมีหน้าที่แค่ 3 อย่าง โดยในเรื่องของการทำงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำจะเป็นผู้ดำเนินการคือ สนง.กกต.จังหวัด หากเป็นการเลือกตั้ง สส. ก็จะมี กกต.เขต มีอนุ กกต.เขต และมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เป็นผู้ทำงานในระดับต่างๆ ขั้นตอนการทำงานก็เป็นปกติ คงไม่เร็วหรือช้าไปกว่าเดิม หากแต่การมีผู้ตรวจการเลือกตั้งเข้ามาก็จะทำให้การทำหน้าที่ของพนักงานประจำหน่วยเลือกตั้งหรือว่าเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องขึ้น” ผอ.กกต.เชียงใหม่ กล่าว

ทั้งนี้สำนักงาน กตต.เชียงใหม่ กำหนดเปิดรับสมัครผู้ตรวจการเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 13 – 22 มิ.ย. 61 จากนั้นจะคัดเลือก โดยคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน คัดผู้สมัครทั้งหมดให้เหลือ 16 รายชื่อ เพื่อส่งรายชื่อให้ กกต.พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียง 8 รายชื่อ และจะขึ้นบัญชีเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งไว้ 5 ปี

ในส่วนของการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีจำนวนผู้ตรวจการเลือกตั้ง จำนวน 7 คน จะประกอบด้วย ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดเชียงใหม่ 2 คน และผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มิได้มีภูมิลำเนาในจังหวัดเชียงใหม่ แต่อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน อีก 5 คน ทั้งนี้บุคคลผู้สมัครเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ อาจได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดอื่น ที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่ และ จ.น่าน รวมทั้งหมด 9 จังหวัด

ทั้งนี้ตลอดการเปิดรับสมัครตั้งวันที่ 13 มิ.ย. ถึงวันที่ 18 มิ.ย. รวม 6 วัน จังหวัดเชียงใหม่มีผู้สนใจสมัครเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งแล้วทั้งสิ้น 36 ราย เรียงตามการสมัครก่อนหลังดังนี้ 1. นายนนท์ หิรัญเชรษฐ์สกุล 2. พล.ต.ต.มณฑล ปัญญายงค์ 3. นายพีรเดช อินต๊ะวงศ์ 4.นายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ 5. นายเกษม ดาราวรรณ 6. นายเรืองฤทธิ์ จอมสืบ 7. น.ส.เบญญาดา พรมพิลา 8. ว่าที่ ร.ต.อาทิตย์ เรืองวุฒิ 9. นางศิริกุล พงษ์ลัดดา 10. นายมงคล สุกใส

11. นายประชัย ภัทรพรเมธากุล 12. นายธีรนนท์ ลือเกียรติกุล 13. นางอุษณีย์ จินตนาประวาสี 14. นายสุรพงษ์ ไชยวงศ์ 15. นายจุลพันธ์ โนนศรีชัย 16. พล.ต.ต.พงษ์สักก์ เชื้อสมบูรณ์ 17. นายบุญศรี บัวระวงศ์ 18. นายปกรณ์กฤษณ์ บุญมณี 19. พ.อ.บัญญัติ บุญปั๋น 20. นายจำนง อภิญดา 21. นายจิรัฐตกุล บัวมงคล 22. นายชูโชค ทองตาล่วง 23. พ.ต.อ.กัมพล ไชยคำวัง 24. นายกันตภณ พิเกณฑ์ 25. นายธานินทร์ แก้วเจริญ 26. นายสมบัติ ไตรศรีศิลป์ 27. นายมนตรี อิ่มเอก 28. นายเพิ่มศักดิ์ เปานิล 29. นายวีราเชษฐ์ จันทร์วรเชษฐ์ 30. นายวิเชียร เลี้ยงพันธุ์สกุล

31. พต.ต.ต.อรรถสิทธิ์ จิตรพันธุ์ 32. พ.ต.อ.สุรพล จันทร์ทรงกลด 33. นายวชิระ เรืองพรวิสุทธิ์ 34. พ.ต.อ.ภูริทัตต์ พันธ์กุล 35 นายอารักษ์ พรหมดี และ 36. นายดวงโรจน์ มัธยานุวัต

สำหรับคุณสมบัติของผู้ตรวจการเลือกตั้ง จะต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี นับถึงวันสมัคร มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันสมัคร สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความเป็นกลางทางการเมือง มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้ง จะเป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐและมีอำนาจแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ถ้าไม่ดำเนินการแก้ไขให้รายงาน กกต.ทราบโดยเร็ว มีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือการกระทำใดที่จะเป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เข้าไปในที่เลือกตั้งหรือสถานที่นับคะแนนเลือกตั้ง ปฏิบัติงานอื่นตามระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งและตามที่ได้รับมอบหมาย

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/029/34.PDF